พระคาถา-บารมี-30-ทัศ

พระคาถา บารมี 30 ทัศ: บทสวดมนต์เสริมพลังบุญและความสำเร็จในชีวิต

พระคาถา บารมี 30 ทัศ เป็นบทสวดมนต์ที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา เน้นการระลึกถึงคุณธรรมอันประเสริฐ 30 ประการที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญเพื่อนำไปสู่การตรัสรู้ บทสวดนี้มีพลังในการเสริมบุญบารมี เสริมกำลังใจ และนำทางชีวิตให้ประสบความสำเร็จ


album-art
00:00

พระคาถา บารมี 30 ทัศ

พระคาถานี้ เป็นพระคาถาอธิษฐานบารมีของพระพุทธเจ้า เมื่อเข้าผจญด้วยพระยามาราธิราช ขณะที่จะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเศกสัมโพธิญาณ พระยามารก็พ่ายแพ้ไปสิ้น

(ตั้ง นะโม 3 จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ


( เริ่มบท บารมี 30 ทัศ )

ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง


พระคาถา บารมี 30 ทัศ นี้ เป็นยอดแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าๆ พระองค์ ทรงบำเพ็ญมา

๑. ทานที่บำเพ็ญโดยสถานประมาณเป็นปกติธรรมดา บริจาคธนสารทรัพย์สมบัติน้อยใหญ่ ถึงแม้จะมากมายเพียงใดก็ดี จัดเป็นบารมีประเภทธรรมดา เรียกชื่อว่า “ทานบารมี”
๒. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือ ถึงกับบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกาย จัดเป็นพระบารมีประเภทมัชฌิมาปานกลาง เรียกชื่อว่า “ทานอุปบารมี”
๓. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือถึงกับต้องบริจาคชีวิตให้เป็นทาน นับเป็นการบริจาคอย่างใหญ่หลวงอุกฤษฏ์ นี้จัดเป็นพระบารมีประเภทสูงสุดอย่างยิ่ง เรียกชื่อว่า “ทานปรมัตถบารมี”


แม้พระบารมีอย่างอื่นก็จำแนกออกเป็นพระบารมีละ ๓ ประเภท ซึ่งพระบารมีที่เป็นองคธรรมมีอยู่ ๑๐ ประเภท เมื่อจำแนกออกเป็นองค์ละ ๓ พระบารมีจึงรวมเป็นพระสมติงสบารมี คือ พระบารมี ๓๐ ถ้วนพอดี ดังจำแนกออกไปตามรายชื่อพระบารมี ดังนี้ คือ


พระคาถา บารมี ๑๐ ทัศ

๑. ทานบารมี บำเพ็ญด้วยการให้สิ่งที่ควรให้
๒. ศีลลารมี บำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์
๓. เนกขัมมบารมี การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด
๔. ปัญญาบารมี บำเพ็ญด้วยการไต่ถามจากผู้รู้
๕. วิริยบารมี บำเพ็ญด้วยการทำความเพียรอย่างถึงที่สุด
๖. ขันติบารมี บำเพ็ญด้วยการอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
๗. อธิษฐานบารมี บำเพ็ญเด้วยการตั้งจิตไว้ให้มั่นคง
๘. สัจบารมี บำเพ็ญด้วยการรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด
๙. เมตตาบารมี บำเพ็ญด้วยการมีเมตตาอย่างถึงที่สุด
๑๐. อุเบกขาบารมี บำเพ็ญด้วยการวางเฉย คือมีใจเสมอกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภหรือเสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์


รวมลงเป็น พระคาถา บารมี ๓๐ ทัศ คือ

๑. ทานบารมี
๒. ศีลบารมี
๓. เนกขัมมบารมี
๔. ปัญญาบารมี
๕. วิริยบารมี
๖. ขันติบารมี
๗. สัจบารมี
๘. อธิษฐานบารม
๙. เมตตาบารมี
๑๐. อุเบกขาบารมี บารมี ๑-๑๐ จัดเป็นบารมีประเภทธรรมดา
๑๑. ทานอุปบารมี
๑๒. ศีลอุปบารมี
๑๓. เนกขัมมอุปบารมี
๑๔. ปัญญาอุปบารมี
๑๕. วิริยอุปบารมี
๑๖. ขันติอุปบารมี
๑๗. สัจอุปบารมี
๑๘. อธิษฐานอุปบารมี
๑๙. เมตตาอุปบารมี
๒๐. อุเบกขาอุปบารมี บารมี ๑๑-๒๐ จัดเป็นบารมีประเภทปานกลาง
๒๑. ทานปรมัตถบารมี
๒๒. ศีลมัตถบารมี
๒๓. เนกขัมมปรมัตถบารมี
๒๔. ปัญญาปรมัตถบารมี
๒๕. วิริยปรมัตถบารมี
๒๖. ขันติปรมัตถบารมี
๒๗. สัจปรมัตถบารมี
๒๘. อธิษฐานปรมัตถบารม
๒๙. เมตตาปรมัตถบารมี
๓๐. อุเบกขาปรมัตถบารมี บารมี ๒๑-๓๐ จัดเป็นบารมีประเภทอุกฤษ์สูงสุด